ข้อมูลสินค้า
Microfiber White No.5 Plus (ฉนวนใยแก้วกันความร้อนวางบนฝ้า-เพดาน)
เป็นฉนวนใยแก้วสูตรใหม่ที่รับรองความปลอดภัยต่อผู้อยู่อาศัย โดยปราศจาก สารฟอร์มาลดีไฮด์ ซึ่งเป็นสารที่อาจจะก่อให้เกิดมะเร็ง MicroWhite ผลิตโดยการปรับใช้เทคโนโลยีสารยึดติดเส้นใยที่ปราศจากสารฟอร์มาลดีไฮด์ ปลอดภัยต่อสุขภาพและเป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อมฉนวนสามารถใช้ได้กับทุกระบบ ไม่ว่าจะเป็น ผนัง หลังคา งานท่อลม งานดูดซับเสียง
ฉนวนใยแก้วแบบม้วนหุ้มรอบด้านด้วยแผ่นสะท้อนความร้อนหรืออลูมิเนียมฟอยล์ป้องกันความร้อนและดูดซับเสียง เหมาะสำหรับใช้ปู่บนฝ้าเพดานทุกชนิด เช่น ฝ้าเพดานแบบที-บาร์,ฝ้าเพดาบยิปชั่นฉาบเรียบ, ฝ้าเพดานกระเบื้องแผ่นเรียบ เหมาะสำหรับงานบ้านพักอาศัย หรือ อาคารที่สร้างเสร็จแล้วหรือกำลังก่อสร้าง
- ป้องกันความร้อนได้ สูงสุด 6 เท่า
- สะท้อนความร้อนได้ มากถึง 95%
มีขนาดมาตรฐาน
- ขนาด 0.60 x 4.00 เมตร
- พื้นที่ 2.40 ตารางเมตร./ม้วน
- มีความหนา 2 นิ้ว 3 นิ้ว และ 6 นิ้ว

ในกลุ่มประเทศที่พัฒนาแล้วได้มีการปรับกฎระเบียบเกี่ยวกับการ ควบคุมสารฟอร์มาลดีไฮด์ ในวัสดุก่อสร้างต่างๆ อีกทั้งผู้คนได้ ตระหนักถึงโทษในระยะยาว ทำให้มีอัตราการใช้ผลิตภัณฑ์ฉนวนปลอด สารฟอร์มาลดีไฮด์ (Penetration rate) มากกว่า 40% จากการใช้ฉนวนกันความร้อนทั้งหมด

สารฟอร์มาลดีไฮด์ คืออะไร
ฟอร์มาลดีไฮด์ เป็นสารประกอบอินทรีย์ที่ใช้ในอุตสาหกรรมเคมีภัณฑ์พลาสติก (เป็นสารตั้งตันในการนำไปทำเม็ดพลาสติกชนิดต่างๆที่เรียกว่า ยูเรียฟอร์มาลดีไฮด์ (Ureaformaldehyde) และ ฟีนอลฟอร์มาลดีไฮด์ (Phenolformaldehyde) ซึ่งจะใช้เป็นวัสดุเคลือบสำหรับงานเฟอร์นิเจอร์ไม้ หรือใช้เป็นสารยึดติดเส้นใยฉนวนใยแก้ว เป็นต้น)

อันตราย ของสารฟอร์มาลดีไฮด์
เมื่อสารเหล่านี้รวมตัวกันขึ้นมา จะทำให้เกิดเป็นสารฟอร์มาลดีไฮด์ ในระดับที่เข้มขันเกินกว่าที่
ร่างกายของเราจะรับและต้านทานไว้ได้ และอาจทำให้เกิดอาการระคายเคือง เช่น แสบตา แสบจมูกระคายคอ มีอาการไอ และหายใจลำบาก โดยปกติแล้วระดับความต้านทานสูงสุดที่ร่างกายมีต่อสารฟอร์มาลดีไฮด์ควรอยู่ที่ต่ำกว่า 15 ไมโครกรัมต่อลูกบาศก์เมตร อีกทั้งองค์กรวิจัยระหว่างประเทศเกี่ยวกับโรคมะเร็ง (International Agency for Research on Cancer IARC) จัดให้ฟอร์มาลดีไฮด์เป็นสารก่อมะเร็งในมนุษย์ กลุ่ม 1 (Group 1) มีอันตรายสูง มีความเสี่ยงต่อ มะเร็งโพรงจมูก มะเร็งทางศีรษะและลำคอ และมะเร็งปอดแม้จะมีการติดตั้งระบบระบายอากาศที่เหมาะสม ก็ยังมีโอกาสที่อากาศภายในห้องนั้นจะมีสารฟอร์มาลดีไฮด์ในระดับเข้มข้นถึง 30 ไมโครกรัมต่อลูกบาศก์เมตรได้ ฉนั้นการเลือกใช้วัสดุก่อสร้างที่ปราศจากสารฟอร์มาลดีไฮด์จึงเป็นส่วนสำคัญในการลดดความเสี่ยงที่ตันตอ และลดโอกาสที่ผู้อยู่อาศัยจะเกิดโรคต่างๆ ในระยะยาว


Formaldehyde fading out
ผู้คนในกลุ่มประเทศที่พัฒนาแล้วได้ให้ความสนใจและตระหนักถึงโทษของฟอร์มาลดีไฮด์นับตั้งแต่ตอนที่องค์กรวิจัยระหว่างประเทศเกี่ยวกับโรคมะเร็ง (International Agency for Research on Cancer – IARC) จัดให้ ฟอร์มาลดีไฮด์เป็นสารก่อมะเร็งในมนุษย์ กลุ่ม 1 (Group 1) มีอันตรายสูง เมื่อร่างกายสูดดมเข้าไปอย่างต่อเนื่องในระยะเวลานาน ซึ่งสารฟอร์มาลดีไฮด์นำมาใช้ผลิตวัสดุเกี่ยวกับ เรซินแผ่นชิ้นไม้อัด วัสดุเคลือบ เฟอร์นิเจอร์ ของใช้ และของเล่นที่ทำมาจากไม้ เป็นหลัก

โดยส่วนใหญ่ผู้คนใช้ชีวิตอยู่ภายในอาคารโดยเฉลี่ยประมาณ 90% จากการวิจัยค้นพบว่ามีสารพิษร้ายแรงหลายชนิดปะปนอยู่ในอากาศภายในอาคารประเภทต่างๆ เช่น ที่พักอาศัย โรงเรียน โรงพยาบาลสถานที่ทำงานและอื่นๆ สารพิษเหล่านี้ โดยถูกขับออกมาจากวัสดุตกแต่งภายในอาคารเช่น ไม้ พรม เฟอร์นิเจอร์ และเกิดจากกิจกรรมต่างๆ เช่น การทำอาหาร การรีดผ้า การทำความสะอาดบ้าน เป็นต้น
ในสหรัฐอเมริกา ญี่ปุ่น และสหภาพยุโรปก็เริ่มผลักดันมาตรการต่างๆ ในการ จำกัดค่าการระเหยของสารฟอร์มาลดีไฮตในวัสดุก่อสร้าง โดยเฉพาะวัสดุเกี่ยวกับไม้ซึ่งถูกเคลือบส่วนผสมจากสารฟอร์มาลดีไฮด์เป็นจำนวนมาก

Sick house syndrome
ในปี 2003 ที่ประเทศญี่ปุ่นได้มีการค้นWU “Sick House Syndrome”หรืออาการป่วยที่เกิดขึ้นจากการอาศัยอยู่ภายในบ้านเรือน โดยอาการดังกล่าวเกิดขึ้นจากการใช้วัสดุก่อสร้างที่มีการระเหยของสารฟอร์มาลดีไฮด์ การค้นพบดังกล่าวทำให้รัฐบาลญี่ปุ่นได้กำหนดค่ามาตรฐานและเริ่มต้นการจัดกลุ่มผลิตภัณฑ์วัสดุก่อสร้าง อาทิ ไม้อัด พื้นไม้ พาร์ติเคิลบอร์และฉนวนกัน
ความร้อน ตามค่าการระเหยของสารฟอร์มาลดีไฮด์ ข้อกำหนดดังกล่าว ได้ถูกบังคับใช้ในการก่อสร้างบ้านเรือนและอาคารต่าง ๆ ทั่วญี่ปุ่น มาตรการควบคุมดังกล่าวจึงทำให้ผู้ผลิตวัสดุก่อสร้างหลายรายในประเทศเริ่มพัฒนาผลิตภัณฑ์ปลอดสารฟอร์มาลดีไฮด์

ในปี 2007 ผู้ผลิตฉนวนชั้นนำ Glass wool ในญี่ปุ่น ได้เริ่มจำหน่ายผลิตภัณฑ์ฉนวนกับกันความร้อบที่ปราศจากฟอร์มาลดีไลดีไฮค์ นับว่าเป็นผลิตภัณฑ์ฉนวนปลอดสารฟอร์มาลดีไฮด์รุ่นแรกในญี่ปุ่นและทวีปเอเชีย ในประเทศไทย อาคาร สำนักงาน และที่อยู่อาศัยยังไม่เคยมีการใช้ฉนวนสูตรปลอดสารฟอร์มาลดีไฮด์มาก่อน อย่างไรก็ตาม ผู้อยู่อาศัย สถาปนึก และผู้ออกแบบในประเทศไทยก็ได้เริ่มให้ความสำคัญต่อวัสดุดก่อสร้างที่ปลอดภัยต่อสุขภาพและสิ่งแวดล้อมมากขึ้น และมีแนวโน้มที่จะเพิ่มมากขึ้นอย่างต่อเนื่องในอบาคต

ที่ผ่านมาทางบริษัทฯ ได้คำนึงถึงการใช้ทรัพยากรให้คุ้มค่ามาโดยตลอด โดยการใช้ ขวดแก้วรีไซเคิล เป็นวัตถุดิบหลักในการผลิตฉนวนใยแก้ว และได้ให้ความสนใจต่อการผลิตฉนวนใยแก้วที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม ทางบริษัทฯ จึงได้ร่วมพัฒนาผลิตภัณฑ์ณฑ์อนวนกันความร้อนกับบริษัทวิจัยและจำหน่ายเคมีภัณฑ์ชั้นบำระดับโลก ในการคิดค้นสูตรสารยึดติดเส้นใยสูตรพิเศษที่ใช้วัสดชีวภาพ (Blo-based) เพื่อสอดรับกับการผลิตที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อมและสามารถคงประสิทธิภาพการกันความร้อนและดูดซับเสียงอย่างมีประสิทธิภาพ
MicroWhite ผลิตโดยการปรับใช้เทคโนโลยีสารยึดติดเส้นใยที่ปราศจากสารฟอร์มาลดีไฮด์ ซึ่งผ่านการรับรองและตรวจวัดค่าการระเหยของสารฟอร์มาลดีไฮด์จากแล็บวิจัยระดับโลก (Intertek) ทำให้มันใจได้ว่าผลิตภัตภัณฑ์ MicroWhiteปลอดภัยต่อผู้อยู่อาศัย

สินค้าแบรนด์ MICROFIBER
Microfiber หรือ ไมโครไฟเบอร์อุตสาหกรรม ผู้ผลิตฉนวนใยแก้วกันความร้อนคุณภาพสูง ที่ได้รับรองมาตรฐาน มอก.486 และ มอก.487 รวมถึงมาตรฐานอื่น ๆ
ในระดับสากลด้วยเช่น ASTME84, EN13501-1,FM APPROVAL, ISO, BS476, NFPA , Green Label, LEED ผลิตภัณฑ์ฉนวนใยแก้ว Microfiber